องค์การหรือหน่วยงาน

            เป็นศูนย์รวมของบุคคลมากกว่าหนึ่งคนมาทำงานร่วมกัน ภายใต้วิสัยทัศน์และพันธ์กิจ และภารกิจที่มีร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ร่วมกัน การบริหารองค์การโดยผู้นำ ที่เป็นผู้บริหารแต่ละระดับ ย่อมพบปัญหาของบุคคลที่มีความไม่ลงรอยกัน ซึ่งเรียกว่า “ความขัดแย้ง” อาจเนื่องมาจากผลประโยชน์หรือแนวคิด ที่สวนทางกันหรือความเชื่อที่ว่าความปรารถนาในแต่ละฝ่ายไม่สามารถบรรลุได้พร้อมกัน
            ความขัดแย้ง เป็นสภาพการณ์ที่ทำให้บุคคลอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจ หรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่ายได้ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มประสบปัญหาของการตัดสินใจ ความขัดแย้งจึงเป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตร เป็นความตึงเครียดซึ่งเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน อาจเกิดขึ้นได้ในบุคคลคนเดียว ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม


เทคนิควิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร

เทคนิควิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร
   1. การเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง  
            ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องกล้าเผชิญกับปัญหาและหาวิธีการจัดการกับความขัดแย้งให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม โดยพยายามลดอคติส่วนตัวลง การนำแนวคิดเชิงบูรณาการมาใช้ในการหาทางออกให้แก่ตนเองและอีกฝ่ายหนึ่ง
   2. ทำความเข้าใจสถานภาพของแต่ละฝ่าย (Understand each other’s position) 
            เช่น การหาสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้ง การศึกษาอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละฝ่าย โดยผู้บริหารต้องพยายามชี้ให้เห็นว่าถ้าแต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือในการ แก้ไขปัญหา ความขัดแย้งก็จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เลย
   3. ระบุปัญหา (Identify the problem) 
           โดยที่แต่ละฝ่ายต้องสร้างความชัดเจนของปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากมากที่สุด เนื่องจากแต่ละฝ่ายต่างก็มุ่งเอาชนะ นำไปสู่ความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารต้องตระหนักในการใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ร่วมกันแก้ปัญหา ให้ความเคารพต่อตนเองและฝ่ายตรงกันข้าม ตลอดจนให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน
   4. แสวงหาทางเลือกและประเมินทางเลือก (Search for appropriate alternatives and evaluation) 
            โดยให้ทั้งสองฝ่ายหาแนวทางที่หลากหลายเพื่อการแก้ปัญหา โดยทางเลือกดังกล่าวจะต้องได้รับการยินยอมและเป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับชัยชนะ
   5. สรุปแนวทางและนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้ (Conclusion and implement the appropriate alternatives) 
            โดยให้แต่ละฝ่ายรับรู้ในข้อตกลงนั้นๆ แล้วนำข้อตกลงไปปฏิบัติ ซึ่งอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม การเจรจากันใหม่และร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับปรุงทางเลือกและข้อตกลงเพื่อให้เป็นที่พึงพอใจกับทุกฝ่าย

เทคนิคการจัดการกับความขัดแย้งแบบ “CONFLICT”

เทคนิคการจัดการกับความขัดแย้งแบบ “CONFLICT” ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้บริหารโดยตรง ดังนี้
C=Control  
            โดยที่ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการควบคุมตนเอง (Self-control) โดยเฉพาะอารมณ์ของผู้ บริหารเอง ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่รุนแรง ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้
O=Optimist/Openness  
            ผู้บริหารต้องมองโลกในแง่ดีและเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับ บัญชา ซึ่งจะช่วยให้เขาลดความวิตกกังวลและความเครียดที่เกิดจากความไม่เท่าเทียม กัน
O=Negotiation    
            การเจรจาต่อรอง ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยผู้บริหารควรยึดหลัก Win- Win Approach ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
F=Fairness   
            เป็นความยุติธรรมของผู้บริหาร ที่มีความสำคัญยิ่งในการบริหารงานบุคคล ซึ่งต้องยึดหลักความเสมอภาคและความยุติธรรมให้เกิดขึ้น โดยที่ผู้บริหารเองจะต้องเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นต้องทำตาม
L=Love   
            เป็นผู้ที่มีความรัก ความจริงใจและความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ความรักถือว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะจะทำให้สามารถมอบสิ่งที่ดีๆ ให้กับผู้อื่น
I=Individual/Identity   
            เข้าใจและตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจรจาต่อรองที่แต่ละฝ่ายต่างก็มีความแตกต่างกัน โดยจะต้องเคารพในความแตกต่างและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
C=Communication   
            เรียนรู้การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นและหาแนวทางในการแก้ปัญหา หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันอาจมีการใช้คนกลาง (Third party) หรือผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) เพื่อช่วยในการสื่อสาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของความขัดแย้งนั้นๆ
T=Togetherness   
            ผู้บริหารจะต้องพยายามเตือนสติตนเองอยู่เสมอว่า ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือร่วมใจในการทำงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน จึงต้องให้ความสำคัญ ให้เกียรติและเคารพในคุณค่าของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะทำให้สามารถครองใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้ และได้รับความร่วมมือในการทำงานอย่างยั่งยืน

เทคนิคที่จะจัดการหรือบริหารความขัดแย้งในองค์กร



เทคนิคที่จะจัดการหรือบริหารความขัดแย้งในองค์กร เพื่อหาแนวทางแก้ไขและหาเหตุผลหรือการประชุม ได้แก่
   1. วิธีแพ้-แพ้ (Lose-Lose) 
            เป็นการจัดการความขัดแย้งด้วยการหลีกเลี่ยงปัญหา การประนีประนอม แต่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับผลตามที่ต้องการ ซึ่งผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ที่เหมาะสม เพราะไม่เช่นนั้นปัญหาความขัดแย้งก็จะคงอยู่และจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากขึ้น
   2. วิธี แพ้-ชนะ หรือ ชนะ-แพ้ (Lose-win or Win-Lose) 
            เป็นเทคนิคการจัดการที่จะนำไปสู่ผลที่เกิดขึ้น โดยมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้ชนะและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้แพ้ ซึ่งไม่เกิดผลดีใดๆ เพราะจะทำให้ความขัดแย้งอาจหมดไปชั่วระยะหนึ่ง แต่อาจกลับมีความรุนแรงมากขึ้น
   3. วิธีชนะ-ชนะ (Win- Win) 
            เป็น เทคนิคในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่จะนำไปสู่ผลที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรในองค์กร โดยที่ผู้บริหารจะต้องมุ่งให้ทุกฝ่ายตระหนักว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องแก้ไข โดยพิจารณาเหตุของความขัดแย้งและหาวิธีการจัดการกับความขัดแย้งที่เหมาะสม

บริหารความขัดแย้งได้อย่างเหมาะและมีประสิทธิภาพ

บริหารความขัดแย้งได้อย่างเหมาะและมีประสิทธิภาพ 
            ด้วยวิธีการหรือเทคนิคการจัดการกับความขัดแย้งอย่างเหมาะสม ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือรับฟังสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงปรากฏการณ์ของความขัดแย้งดังกล่าว คือ
หลักของการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) 
การเคารพนับถือและให้เกียรติมนุษย์ (Respect) 
ความจริงใจ (Genuineness) 
ตามหลักการของการสร้างสัมพันธภาพ 

Popular Posts